ศาลฎีกาวางหลักใดไว้บ้างเกี่ยวกับความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

กรณีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้  กับประเด็นความสามารถของเจ้าหนี้ในการบังคับชำระหนี้  และคำว่า เจ้าหนี้ของตน ?

ประเด็นดังกล่าวนี้มีบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวโดยตรง คือ

ประมวลกฎหมายอาญา

 มาตรา 350 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ก่อนอื่นเราต้องรู้เสียก่อนว่า เจ้าหนี้ซึ่งได้ใช้ หรือจะใช้สิทธิทางศาลให้ชำระหนี้  หมายถึงกรณีอย่างไร

เห็นว่า ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย  ตามมาตรา ๓๕๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หากเจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเสียแล้ว หากลูกหนี้ได้กระทำการ เช่นหากลูกหนี้ได้นำที่ดินออกขาย ในขณะที่การใช้สิทธิทางศาลก็ไม่อาจจะทำให้เจ้าหนี้ในคดีไม่ได้รับชำระหนี้  จึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามาตรา ๓๕๐  แห่งประมวลกฎหมายอาญา

            และส่วนประเด็น คำว่า  เจ้าหนี้ของตน  หมายถึงเฉพาะผู้เสียหายในคดี มิได้หมายรวมถึงเจ้าหนี้คนอื่นของลูกหนี้ซึ่งมิได้ฟ้องร้องลูกหนี้เป็นจำเลยในคดีนี้

จากกรณีตามประเด็นดังกล่าวมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศึกษาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๖๔/๒๕๖๓

ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๐ เจ้าหนี้ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้นั้น หมายความถึงเจ้าหนี้ที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน ๒ เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ย่อมหมดสิทธิบังคับชำระหนี้จากจำเลยได้อีกต่อไป เพราะผลของประนอมหนี้หลังล้มละลายย่อมผูกพันโจทก์และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายไปแล้ว จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องจึงไม่ใช่การกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในคดีแพ่งได้รับชำระหนี้ จำเลยไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๐

ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๐ ที่บัญญัติว่า ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน คำว่า “เจ้าหนี้ของตน” หมายถึงเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้มิได้หมายความรวมถึงเจ้าหนี้คนอื่นของจำเลย ซึ่งมิได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ด้วย

หมายเหตุ

๑.โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาก่อนที่จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย

๒.โจทก์ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ภายใน ๒ เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยจึงหมดสิทธิบังคับชำระหนี้จากจำเลย

๓. ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลาย ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้และมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย

   ดังนั้นพอสรุปได้ว่า เมื่อเจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ การที่ลูกหนี้จะไปกระทำนิติกรรมใดๆในระหว่างการใช้สิทธิทางศาล  จึงไม่ใช่การกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ในคดีแพ่งได้รับชำระหนี้แต่อย่างใด

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ
สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

 

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ Copyright © 2021. All rights reserved.